ทำ SEO แบบ On-Page และ Off-Page คืออะไร ทำอย่างไร?

seo-on-page-off-page

หลักการทำ SEO ด้วยตนเอง รู้จัก On-page และ Off-page คืออะไร

On-page และ Off-page คืออะไร และต่างกันอย่างไร หลายๆคนคงจะรู้จักกันแล้วว่า SEO คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร หากยังไม่มีความรู้หรือยังไม่เข้าใจ สามารถตามลิ้งค์นี้ไปศึกษาก่อนได้เลย

การปรับแต่งของ SEO นั้นได้แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ นั่นคือ On-page และ Off-page ถ้าจะให้เปรียบเทียบแบบเข้าใจง่ายๆ การปรับแต่ง SEO โดยอาศัยปัจจัยต่างๆเช่น

ปัจจัยภายใน On-Page

SEO On-page คือ การที่เราใช้ทุกอย่างที่สามารถทำได้ใน website เราช่วยในการให้ติดอันดับใน Search engine ไม่ว่าจะเป็น ชื่อโดเมน (Domain name), ชื่อหัวเรื่องหน้าเว็บ(title tag), คำอธิบายหน้าเว็บ(Meta description), link ต่างๆ รวมถึง ตัวอักษร, รูปภาพ และอื่นๆที่สามารถทำได้ในเว็บไซต์เรา ดังนั้น การทำ On-Page แบบอาศัยปัจจัยภายใน (On-Page) ก็มีความหมายเช่นเดียวกันกับชื่อ ซึ่งก็คือการทำ SEO โดยอาศัยปัจจัยที่มีอยู่ภายในเว็บไซต์ของเราเอง เช่น บทความภายในเว็บไซต์ ชื่อหัวเรื่องของหน้าว็บ (Title tag) ชื่อโดเมน (Domain name) การเชื่อมโยงลิงค์ภายในเว็บไซต์ (Internal link) ชื่อไฟล์ต่างๆ (File name) เช่นชื่อรูปภาพ คำอธิภายต่างๆ (Description) เช่น คำอธิบายรูปภาพ การกำหนดชื่อให้ลิงค์ (Permalink) และอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการทำ SEO และเราสามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ภายในเว็บไซต์

ปัจจัยภายนอก Off -Page

SEO Off-page คือ การทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับ Search engine โดยที่เราต้องพึ่งพาเว็บไซต์จากภายนอกในการโปรโมทเว็บของเรา การโยง link จากเว็บไซต์อื่นให้มาที่เว็บไซต์ของเรา โดยจะมีหลายแบบยกตัวอย่างเช่น Backlink การทำให้ลิ้งค์เชื่อมต่อมายังเว็บเรา หรือ Linkwheel วงล้อลิ้งค์เป็นต้น ข้อแนะนำการทำ off-page คือไม่ควรทำเป็นสแปม นอกจากจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์ใดๆแล้ว ยังทำให้ Google เก็บไปตรวจสอบได้ และถ้าเกิดตรวจแล้วว่าผิดจริง มันจะถูกเก็บลง Sandbox หรืออาจทำให้เว็บไซต์ของเราหายไปไม่ขึ้นใน search engine อีกเลย Off-Page การทำ SEO แบบอาศัยปัจจัยภายนอก (Off -Page) ก็มีความหมายที่ตรงกันช้ามกันกับการทำ SEO แบบ On-Page นั่นก็คือการทำ SEO โดยอาศัยปัจจัยที่มีอยู่ภายนอกเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำลิงค์เชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่นกลับมายังเว็บไซต์ของเรา (Backlink)

เทคนิคสำคัญของการทำ On-Page SEO ให้ถูกใจทั้ง Search Engines และ Users

  1. Title Tag ควรมี keyword อยู่ด้วย
    ส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากของการทำ On-Page SEO และเป็นส่วนที่ควรจะต้องมี keyword ที่เราต้องการทำ SEO อยู่ในส่วนนี้ ถ้าเป็นไปได้ keyword ควรจะเป็นคำแรกของ Title Tag ได้ยิ่งดี สำหรับ CMS ทั่วไปโดยเฉพาะ wordpress ส่วนนี้จะเป็นส่วนเดียวกันกับการตั้งชื่อบทความ (Headline) ดังนั้นการตั้งชื่อบทความจึงเป็นที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างมากในการทำ SEO
  2. อย่าลืมคิดถึง Long Tail keyword 
    Long tail keywords คือกลุ่มคำหรือวลีที่มี keyword หลักรวมอยู่กับคำอื่นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความหลากหลายให้กับคีย์เวิร์ด และจะทำให้คีย์เวิร์ดเหล่านี้มีโอกาสติดอันดับสูงๆ ได้ง่ายกว่าคำหลัก เช่น การเพิ่มเติมความว่า “รีวิว” “2016” หรือ “ราคา” รวมกับคีย์เวิร์ดหลักในตอนที่เขียน Title Tag เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม Keyword Research ขั้นตอนสำคัญในการทำ SEO
  3. สร้าง URL ให้ Search Engines และ Users เข้าใจได้ง่าย
    ควรหลีกเลี่ยง URL ที่เต็มไปด้วยอักขระที่มีแต่โปรแกรมเมอร์เท่านั้นที่อ่านเข้าใจ URL ที่ดีควรจะมีความหมายซึ่งก็หมายถึงควรจะมีคีย์เวิร์ดรวมอยู่ใน URL ด้วยจะดีมาก เพราะนอกจากจะเป็นการทำ SEO-Friendly URLs แล้วยังถือว่าเป็นการทำ User-Friendly URLs ด้วย
  4. ใช้แท็ก <H1> ในส่วนของ Headline ของแต่ละหน้า
    <H1> เป็นแท็กที่ช่วยบอกให้ Search Engine รู้ว่าเนื้อหาสำคัญของหน้านั้นคืออะไร แน่นอนว่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรมี keyword อยู่ด้วย
  5. ใช้แท็ก <H2> ในส่วนของ Subheading
    คล้ายๆ กับแท็ก <H1> แต่แท็ก <H2> จะช่วยบอกให้ Search Engine ทราบถึงหัวข้อสำคัญรองลงมาจาก Headline
  6. ให้ความสำคัญกับ Paragraph แรกของเนื้อหา
    ในย่อหน้าแรกนั้นโดยเฉพาะ 160 ตัวอักษรแรกควรที่จะมีคีย์เวิร์ดหลักรวมอยู่ด้วย เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรจำต้องทำให้เป็นประจำสม่ำเสมอเวลาที่เขียนบทความเนื้อหาอะไรก็ตาม เนื่องจากโดยปกติถ้าหาก Google ไม่พบ Meta description แล้ว Google มักจะดึงข้อความในย่อหน้าแรกไปแสดงบนผลการค้นหา ซึ่งการมีคีย์เวิร์ดอยู่ในผลการค้นหาย่อมเป็นสิ่งที่ดี
  7. การตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้มีความหมาย
    ควรที่จะตั้งชื่อไฟล์ให้มีความหมายหรือมีคีย์เวิร์ดรวมอยู่ด้วย ไม่ควรใช้ชื่อไฟล์ที่ตั้งมาจากกล้อง เนื่องจากการจะให้ Google เข้าใจความหมายรูปภาพนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่ชื่อไฟล์ ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลการค้นหาบน Google Image Search ที่ดีขึ้นด้วย
  8. ใช้แท็ก alt ในการอธิบายภาพ
    Alt แท็กเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยบอก Google ให้เข้าใจความหมายของรูปภาพได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นควรที่จะต้องใส่คีย์เวิร์ดในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
  9. ใช้ Internal Link เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์ของเรา
    การทำ Internal Link นอกจากจะช่วยให้ Users ได้รับเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่แล้ว ยังช่วยให้ Search Engine เข้าถึงและเข้าใจเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันภายในเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น
  10. ใช้ Outbound Links เพื่อเชื่อมโยงไปเนื้อหาภายนอกเว็บไซต์
    หลายคนมักจะสนใจแต่การสร้าง Inbound Links หรือ Backlinks แต่การทำ Outbound Links เพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่สอดคล้องกันจะเป็นการช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าของเราได้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน บางบทความในต่างประเทศรายงานว่าหน้าเว็บที่มี Outbound Links มีโอกาสที่จะมีอันดับสูงกว่าหน้าเว็บที่ไม่มี Outbound Links
  11. เขียนบทความให้มีความยาว
    มีผลสำรวจจากเว็บไซต์ต่างประเทศพบว่าเนื้อหาที่มีความยาวมักจะมีอันดับที่ดีกว่าเนื้อหาสั้นๆ ในบทความระบุว่าอันดับหนึ่งถึงสามในผลการค้นหามักจะมีความยาวประมาณ 1,900 – 2000 คำ แต่อย่างไรก็ตามให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพของเนื้อหาด้วย ไม่ใช่เน้นที่ความยาวแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเนื้อหาไม่มีคุณภาพแล้ว ความยาวก็ไม่ได้ช่วยอะไร
  12. Responsive เว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็น
    อย่างที่ทราบกันดีว่าส่วนใหญ่แล้ว traffic ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ในเวลานี้มากกว่า 50% มาจาก mobile device ดังนั้นหากเว็บไซต์ของเราไม่รองรับอุปกรณ์เหล่านี้ อันดับการแสดงผลบนอุปกรณ์ Mobile ก็จะต่ำลงตามอัลกอริธึมของ Google ที่จะให้ความสำคัญกับ User experience ค่อนข้างมาก
  13. ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บไซต์
    ปัจจัยเรื่องความเร็วในการโหลดหน้าเว็บเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ Google กล่าวเอาไว้ในเอกสารแนะนำการทำ Search Engine Optimization และการระบุไว้ในเอกสารอย่างชัดเจนเช่นนี้ทำให้กล่าวได้ว่า เรื่องความเร็วในการโหลดหน้าเว็บจะมีผลต่อการจัดอันดับผลการค้นหาอย่างแน่นอน โดยที่คะแนนความเร็วหรือ Page speed score นั้นสามารถตรวจสอบได้จาก Google Analytics หรือจะใช้เครื่องมือในการตรวจสอบที่ Google มีให้ใช้งานอย่าง Google Page Speed Test ก็ได้เช่นกัน
  14. พิ่มปุ่ม Social Sharing Buttons บนหน้าเว็บ
    แม้ว่าทาง Google จะออกมาบอกเองว่า Social Signals ไม่ได้มีผลต่อการจัดอันดับผลการค้นหา แต่การมีปุ่ม Share นั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเห็นบทความหรือเนื้อหาของเราให้มากขึ้น รวมไปถึงจำนวน Traffic ที่จะตามมา และการมี Traffic ที่มากขึ้นนั้นถือเป็น Signal อย่างหนึ่งที่บอกถึงคุณภาพได้เช่นกัน และหากเนื้อหาที่ได้รับการ Share นั้นดีพอ ก็เป็นไปได้ที่มีเว็บไซต์อื่นสร้าง Backlink กับมาที่บทความของเราได้เช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *